top of page
Writer's pictureNEO ACADEMY

รถไฟ 4 โบกี้ ปรับขบวนทัพ รับมือ 2021


ในปีที่ผ่านมา ทุกธุรกิจคงทราบดีแล้วว่าต้องมีการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่รอด วันนี้ NEO ACADEMY BY CMMU ได้สรุปรายละเอียดมาให้เห็นเป็นภาพของโบกี้ธุรกิจ 4 ตอน ที่หัวรถจักรขององค์กรต้องปรับขบวนทัพเพื่อเตรียมรับปี 2021

1. คนต้องพร้อม! รับการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล

ไม่มีใครปฏิเสธได้อีกต่อไปว่าธุรกิจปัจจุบันนี้ต้องทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัล คำกล่าวของ บิล เกตส์ ที่เคยกล่าวว่า “If your business is not on the internet, then your business will be out of business” ไม่ได้เกินเลยไป เมื่อเราได้เห็นธุรกิจหลายแห่งปิดตัวไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจแพลตฟอร์มส่งอาหาร ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ หรือธุรกิจการศึกษาออนไลน์ กลับเติบโตอย่างเป็นปรากฏการณ์ เพราะผู้บริโภคพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อความสะดวกสบายมากกว่า


สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำคือการเตรียมพร้อมบุคลากรให้มีสิ่งที่เรียกว่า “Digital Literacy” หรือ “ความรู้ทางดิจิทัล” ไม่ต่างอะไรกับที่ครั้งหนึ่งเราต้องเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือ คณิตศาสตร์ ความรู้ทางดิจิทัลคือความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระยะห่างของคนที่มีทักษะทางดิจิทัลกับคนที่ไม่มีทักษะทางดิจิทัลยิ่งห่างกันเท่าไร ระยะห่างของธุรกิจที่จะไปถึงเป้าหมายในโลกยุคดิจิทัลนี้ยิ่งห่างไกลขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อบุคลากรในองค์กรมี Digital Literacy ธุรกิจจึงจะสามารถที่จะทำ “Digital Transformation” หรือการ “ทรานส์ฟอร์ม” ธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ นั่นคือการที่ธุรกิจยอมรับเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาใช้ เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือทดแทนรูปแบบสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ได้เป็นดิจิทัลนั่นเอง



2. ตรววจสอบคุณค่าที่คุณเองและผู้บริโภคยัง “เชื่อ” อยู่

ถ้า Brand Value (คุณค่าของแบรนด์) คือสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการแล้ว การ Revisiting Brand Value หรือการกลับมาตรวจสอบคุณค่าของแบรนด์ของเราในโลกดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ถ้า Brand คือเรื่องของ “ความเชื่อ” ดังนั้นการ ทำ Brand Revisiting ก็ต้องกลับมาที่การตรวจสอบความเชื่อนั่นเอง


ในโลกการแข่งขันดิจิทัลนั้นที่ทุกธุรกิจแข่งกันด้วยความเร็ว แต่สินค้าบางอย่าง เช่น กล้องฟิล์ม หรือแผ่นเสียง ที่เป็นสินค้าที่ควรจะตกยุคนั้นกลับมาได้รับความนิยม แสดงว่าสินค้าบางประเภทนี้สามารถ "สื่อสาร" ความเชื่อบางอย่าง เช่น “ชีวิตที่ดีไม่จำเป็นต้องเร็ว” หรือความรู้สึกบางอย่าง เช่น “Nostalgia – ความคิดถึงวันวาน” ให้กับผู้บริโภคได้ หากชุดความเชื่อนั้นโดนใจผู้บริโภคก็สามารถที่จะยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งได้ไม่ยาก


โลกของ Digital Branding เปลี่ยนการให้คุณค่ามากกว่าแค่เรื่อง Corporate Identity (อัตลักษณ์องค์กร) ที่มุ่งเน้นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ สู่ Corporate Reality (ตัวตนที่แท้จริงขององค์กร) ที่คนเชื่อและอยากที่จะรับรู้ “ความจริง” ขององค์กร ผู้บริโภคหาได้ให้ค่าเพียงภาพลักษณ์ภายนอก หากแต่ยังให้ค่ากับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ


ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเฟสบุ๊คไลฟ์พาลูกค้าไปชมถึงหลังครัวว่ามีการจัดการอย่างไร หรือแม้แต่บางธุรกิจอย่างอสังหาริมทรัพย์ก็มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอโครงการตั้งแต่ช่วงก่อสร้างได้อย่างน่าติดตาม ทำให้ผู้บริโภคเห็นความตั้งใจและพิถีพิถันกว่าโครงการหนึ่งจะออกมาเสร็จสมบูรณ์


เรื่องราวต่าง ๆ นี้ล้วนประกอบกันเป็น “Brand Story” ที่สร้างชุดความเชื่อใหม่ให้ผู้บริโภค จากการนำเสนอเรื่องจริงในชีวิตประจำวันของแบรนด์นั้น ๆ เหมือนที่ Seth Godin ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดยุคใหม่กล่าวว่า การตลาดในยุคปัจจุบันต้องคำนึงถึงการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่หล่อหลอมเป็นตัวตนและความเชื่อระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค


สิ่งที่คนทำธุรกิจควรทำคือการตรวจสอบและตีความ “Brand Value” ของตนเองและองค์กรใหม่ว่ายังเป็น คุณค่า ที่คุณเองเชื่อและผู้บริโภคเชื่อหรือเปล่า


Reference: https://inkbotdesign.com/content-marketing-tactics/



3. ไม่มีคำว่าการตลาด Offline หรือ Online ดีกว่าอีกต่อไป

การ ทำ Digital Marketing Optimization หรือ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดดิจิทัล” น่าจะเป็นโจทย์และทิศทางของทุกธุรกิจ ข้อมูลทุกแห่งชี้ชัดไปในทิศทางเดียวกันว่าปริมาณการเสพข้อมูลดิจิทัลในแต่ละปีนั้น มีแต่จะมากขึ้นและมากขึ้น ไม่มีทิศทางที่จะลดลง

Reference: https://datareportal.com/reports/digital-2020-global-digital-overview


สิ่งที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องเผชิญคือข้อมูลหลากหลายจากทุกทิศทาง และการแข่งขันในโลกการทำการตลาดดิจิทัลก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ข้อถกเถียงทางธุรกิจในอดีต เช่น การตลาด Offline หรือ Online ดีกว่า ดูจะเป็นข้อถกเถียงที่ล้าสมัย เมื่อปัจจุบันเราพูดถึง Omni Channel หรือ การทำทุกช่องทาง


อาจดูย้อนแย้งไปสักนิดแต่ข้อคิดที่อยากฝากไว้สำหรับคนทำธุรกิจคือ ควรเลิกคิดถึง Digital Marketing เป็นแค่ “Function” หนึ่งของ Business แต่แท้จริงแล้ว Digital Marketing และ Business คือเรื่องเดียวกัน! นักธุรกิจควรที่จะ Optimize ช่องทางต่าง ๆ ที่มีอยู่แบบ Integration (บูรณาการ) ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล


เราจะเห็นว่ามี Platform Application ในยุคปัจจุบันหลายตัวที่ Integrate ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แทปเลต หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้การใช้งานระหว่างอุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น ยังสามารถ Integrate Function การทำงานได้อีกด้วย ในปัจจุบันตำแหน่งงานของแผนกขายก็สามารถทำการสื่อสารการตลาด เช่น การทำ Facebook Live ให้น่าสนใจ รวมถึงการปิดการขายได้ภายในช่องทางเดียวกัน


การรับมือกับข้อมูลที่มาจากทุกทิศทางนั้น แนวคิดที่จะทำให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้คือการทำ Data Optimization หรือ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด นักธุรกิจควรที่จะปรับตัวและทำความเข้าใจ Terms ใหม่ๆ ในโลกของ Digital Marketing เช่น Conversion Rate Optimization (อัตราประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า) เพราะตัวชี้วัดเหล่านี้ คือประโยชน์ที่แท้จริงของการทำการตลาดดิจิทัล ที่ทุกอย่างนั้นสามารถวัดผลและตีค่าออกมาได้ แตกต่างกับการทำการตลาด Offline ที่ข้อมูลต่าง ๆ มีไม่เพียงพอในการกำหนดกลยุทธ์ และไม่สามารถวัดผลได้ทันเวลา



4. Reinventing your Supply Chain!

ครั้งหนึ่ง ปรมาจารย์ลูกหนัง เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้กล่าวไว้ว่า “เกมรุกทำให้คุณชนะ แต่เกมรับจะทำให้คุณเป็นแชมป์!”


คำกล่าวอมตะนี้น่าจะนำมาปรับใช้กับการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี การทำแบรนด์ การทำการตลาด และการสร้างรายได้อย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คุณอยู่รอดในโลกธุรกิจได้ การทำ Supply Chain Management (การจัดการห่วงโซ่อุปทาน) ที่ดีต่างหากที่ทำให้คุณมีกำไร


นักธุรกิจหลายคนยังไม่เข้าใจ (หรือยังไม่ได้ใส่ใจ) กับการบริหารจัดการเรื่องนี้เท่าไรนัก แท้จริงแล้วการทำ Supply Chain Management คือการตรวจสอบคุณภาพทุกอย่างของกิจการตั้งแต่ INPUT > PROCESS > OUTPUT ว่าทุกการจัดซื้อของเข้า การบริหารโกดัง การรับคำสั่งซื้อ การส่งสินค้า ตลอดจนการจัดการหน้าร้านทั้งหมดนั้น ได้ถูกจัดการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดแล้วหรือยัง


ยิ่งความเร็วของธุรกิจเพิ่มขึ้นในโลกยุคดิจิทัล พร้อมกันกับการประสานงานติดต่อในหลากหลายช่องทางที่มากขึ้น ดูจะยิ่งเพิ่มอัตราความเป็นไปได้ของการสูญเสียและความผิดพลาด ซึ่งทุกการสูญเสียนั้นคือกำไรที่ลดลงนั่นเอง ดังนั้น ลองจินตนาการดูว่าหากเราสามารถลดความสูญเสียต่าง ๆ ได้ เช่น ลดอัตราการส่งของเสีย ลดระยะเวลาที่จะใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแผนก รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพต่าง ๆ ในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น เมื่อทุกอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นรวมกัน สิ่งที่ธุรกิจจะได้เพิ่มมากขึ้นนั่นก็คือ กำไรที่มากขึ้น เช่นกัน


ไม่มีใครรู้จักธุรกิจของเราได้ดีไปกว่าตัวเรา สิ่งที่นักธุรกิจควรทำคือ ลองถอยมามองภาพใหญ่ของธุรกิจเราในแต่ละส่วนว่า อะไรที่ควรลด ทด สร้าง เสริม เพื่อให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพขึ้น การทำ ERRC Matrix (เมทริกซ์เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมทีเกิดขึ้นในองค์กรก็เป็นสิ่งง่าย ๆ ที่ควรทำ)

Reference: blueoceanstrategy.com

อีกอย่างที่คนทำธุรกิจยุคใหม่ควรคำนึงถึง คือการ Leverage Outsources & Resources ปรับเปลี่ยนมุมมองจาก “เราต้องเก่งทุกอย่าง” มาเป็น “ไม่มีใครที่เก่งทุกอย่างและไม่มีใครที่จำเป็นต้องทำทุกสิ่ง” ในโลกของ Platform Business ที่เอื้อให้ค้นหาและเชื่อมโยงกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นนั้น นักธุรกิจควรรู้จักที่จะเลือกทำสิ่งที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะแจกงานหลายอย่างออกไปโดยการหาพาร์ทเนอร์ที่เราสามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนได้ แม้แต่หลายอย่างที่อาจเคยเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานคนทำ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการใช้เทคโนโลยี หรือแรงงานหุ่นยนต์เพื่อลดแรงแต่เพิ่มประสิทธิผลได้เช่นกัน


ย้อนมามองดูปี 2020 หากใครรู้สึกว่าเริ่มเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์อยู่บ้าง ได้เวลาที่ผู้บริหารต้องเลือกจัดขบวนรถไฟคันที่จะพาทะลุอุโมงค์ไปให้ได้ ตั้งแต่การวางวิสัยทัศน์ วางตัวตนของแบรนด์ให้ชัด สื่อสารกับลูกค้าให้ได้ทุกทิศทุกทาง และบริหารจัดการภายในให้เบาที่สุด เพื่อไปถึงเป้าหมายให้เร็วที่สุด


-----------------------------------------------

NEO Academy เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2564 ในชุด Mini MBA Series

หลักสูตรการบริหารธุรกิจในยุคดิจิทัล รุ่นที่ 3 (เรียนสดออนไลน์)

Mini MBA – Digital Business Management หลักสูตรการบริหารธุรกิจในยุคดิจิทัล

ปูพื้นฐานความเข้าใจแบบองค์รวมในเรื่อง Digital Transformation ได้แก่ การปรับกระบวนการคิดของบุคลากร (People) การปรับกระบวนการทำงานในธุรกิจ (Process) และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ (Technology) ให้สามารถนำไปวางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-----------------------------------------------

Mini MBA – Digital Branding Management หลักสูตรการบริหารแบรนด์ดิจิทัล

เรียนรู้พื้นฐานการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ และส่งมอบคุณค่าแบบไร้รอยต่อ สร้างคอนเทนต์ในโลกออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์จริง ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางดิจิทัลเพื่อสร้างสรรค์และต่อยอดแบรนด์ ประเมินมูลค่าแบรนด์ผ่านกรณีศึกษาทางธุรกิจ พร้อมทำ Branding Workshop ให้กับองค์กร

-----------------------------------------------

Mini MBA – Digital Marketing Management หลักสูตรการบริหารการตลาดดิจิทัล

เรียนรู้องค์ประกอบที่สำคัญของการตลาดดิจิทัล และ สร้างแผนการตลาดดิจิทัลของตนเองผ่าน Digital Marketing Canvas วางแผนบริหารทีมและงบประมาณ วัดผลความสำเร็จของการทำการตลาดดิจิทัลด้วยข้อมูล และเครื่องมือยุคใหม่ที่เรียนรู้ง่าย นำไปใช้ได้จริง

-----------------------------------------------

Mini MBA – Innovative Supply Chain & Logistics Management

หลักสูตรการบริหารนวัตกรรมโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

เรียนรู้โซ่อุปทานและโลจิสติกส์รูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล ผสมผสานการทำงานของคนและเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรม เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัว และบริหารข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ พร้อมศึกษาดูงานนอกสถานที่กับบริษัทชั้นนำของเมืองไทย

-----------------------------------------------

**หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy Curriculum) พ.ศ. 2559 (จัดทำโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากิจกรรมศึกษาวิเคราะห์กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลเบื้องต้น (Digital Literacy) สำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัยที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) https://sites.google.com/ska1.go.th/digitalliteracy/home #NEOBYCMMU #MiniMBASeries

109 views0 comments

Comments


bottom of page