จากข่าวล่าสุดที่ Elon Musk ออกมาทวิตว่าจะมีการจำกัดข้อความบน Feed สำหรับผู้ที่ไม่มี Blue Check Mask ก็เกิดกระแสอันมากมายว่าจะเลิกใช้ Twitter แล้ว เพราะ Elon Musk ช่างเรื่องมาก และจำกัดความเป็น Twitter มากเกินไป แต่ว่าที่นี้คนจะเปลี่ยนไปใช้อะไรแทนที่คล้าย Twitter ล่ะ
คนก็ได้แต่ตั้งคำถามกันไปมา จนสุดท้ายชายผู้ที่เป็นทั้งเจ้าของ Facebook และ Instagram ได้ออก Thread Meta ทีมีความคล้าย Twitter เป็นอย่างมาก แต่จะมีลูกเล่นอะไรที่แตกต่าง และวิธีใช้อย่างไร วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง รวมถึงว่า Social Media แต่ละแพรตฟอร์มมีความสำคัญกับธุรกิจเราอย่างไร
การเข้าร่วม Application Thread
ถ้าคุณมี Instagram เป็นของตัวเองแล้วคุณสามารถ Log In เข้าถึง Thread ได้เลยผ่าน Account Instagram แต่ถ้ายังไม่มีก็ต้องไปสร้าง Account Instagram ก่อนนะคะถึงจะสามารถเข้ามาใช้ Thread ได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องมีอายุมากกว่า 16 ปีขึ้นไป (บางประเทศ 18 ปี ขึ้นไป)
ขั้นตอนต่อไปคือคุณสามารถ Follow ผู้คนตาม Account Instagram เดิมของคุณก็ได้หรือ Search หาคนใหม่ก็ได้ด้วย ซึ่งเวลาที่คุณอยาก Follow คนใหม่ๆ ทาง Thread จะมี AI คอยสกรีนชื่อพร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่ามียอด Follow เท่าไหร่ใน Instagram นั้นด้วย
และเมื่อคุณพร้อมที่จะใช้งาน Thread แล้วหน้า Feed ของคุณจะเต็มไปด้วย Post ที่คุณ Follow และ Post ที่แนะนำจากทาง Creator ซึ่งถ้าคุณอยากโพสต์บน Thread ทาง Creator จะจำกัดข้อความได้ 500 คำ ซึ่งรวมไปด้วย Links Photo และวีดีโอที่ได้ความยาวถึง 5 นาทีเต็ม ๆ และคุณยังสามารถแชร์ Thread ของคุณผ่านไปทาง Instagram Story และ Platform อื่น ๆ
Tune out the noise
อีกหนึ่ง Feature ของ Thread คือการตัดสิ่งรบกวนออกจากหน้า Feed ได้ เราสามารถควบคุมคนที่กล่าวถึงเรา หรือ Reply เราได้เหมือนกับ Instagram และคุณสามารถซ่อนคำอันไม่พึงประสงค์ออกจากหน้า Feed เราได้อีกด้วย สุดท้าย Account ไหนที่เรา Blocks ใน Instagram ก็จะถูก Blocks ผ่านทาง Thread ด้วยเหมือนกัน
Thread มีความสำคัญสำหรับธุรกิจเราขนาดไหน
ในทุกๆ ครั้งที่มีแพลตฟอร์มใหม่ คนทำ Social Media ก็มักจะถูกตั้งคำถามเดิม ๆจากบริษัทว่าจำเป็นต้องไปอยู่ใน Platforms เหล่านี้หรือไม่ หลายๆ คนก็มักจะเลือกทางง่าย คือ ลองๆ ไปก่อน เวิร์คไม่เวิร์คก็ว่ากันอีกที แต่ความจริงแล้วอาจจะลืมคิดไปว่าการไปเพิ่มช่องทางใหม่นั้นคือการเพิ่มงานขึ้นมาอีกตัว สุดท้ายหากทีมไม่ได้ใหญ่พอก็จะกลายเป็นการ "ทำมากแต่ได้น้อย"
แต่หากคนทำ Social Media ที่คิดมองภาพใหญ่ เขาจะคิดก่อนว่า:
วันนี้ทำโพส Facebook ได้น่าสนใจเพียงพอแล้วรึยัง หรือลงไปกี่ครั้งก็ยังไม่เคยได้ Engagement ต้องคอยซื้อ Ads ดันอยู่ตลอดเวลา
วันนี้ลง Instagram แล้ว มี Theme ที่ชัดเจนรึยัง หรือแค่มีอะไรก็ลงๆ ไป ลูกเล่นต่างๆ ใช้ครบหรือไม่
วันนี้โพสคลิป TikTok แบบเข้าใจความต้องการของผู้ติดตามรึยัง หรือเป็นแค่โพสที่เอามาจากที่อื่นมาลงซ้ำอีกที เนื้อหาแบบ Informative มากไปจนลืม Entertain รึป่าว
วันนี้ใช้ YouTube ได้ครบทุก Function ได้ Optimize SEO รึยัง หรือแค่ลงโพสยาวๆ ทิ้งไว้ ส่วน Short ก็เอาจาก Tiktok หรือ Reels มาลงซ้ำ
วันนี้เข้าใจการทำ LinkedIn รึยัง หรือแค่มีไว้ใช่เปิดรับสมัครงาน
วันนี้ได้ใช้ Pinterest อย่างสร้างสรรค์หรือเป็นแค่ที่เก็บรูปเฉยๆ
วันนี้ได้ใช้ Google My Business แบบเต็มที่หรือปักหมุดไว้แค่แสดงใน Map
วันนี้ได้ใช้ LINE Corp เพื่อแค่แชทกับลูกค้า แต่ไม่เคยลองฟังค์ชั่นอื่นๆ
วันนี้ได้ใช้ Twitter แบบทั้ง 3 รูปแบบของ Launch Formula (Tease, Reveal, Reinforce) หรือแค่โพสสั้นๆ ไปเรื่อยๆ เพราะถ้าหากยังจับทางไม่ได้สำหรับตัวนี้ Threads ก็มีแนวโน้มจะไม่รอด
ดังนั้นก่อนจะไปใน Social Media ช่องทางใหม่ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี ลอง Back to Basic คือการเข้าใจพื้นฐานและวางกลยุทธ์ให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าไปสู่ช่องทางใหม่ๆ เพราะไม่งั้นในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจจะต้องดูแล Social Media Platform เกิน 20 ตัวแต่ไม่สามารถทำให้สำเร็จสักตัวก็เป็นได้
ทดลองได้ แต่อย่าลืมถามตนเองว่ากลยุทธ์คืออะไร
และการตลาดดิจิทัล ไม่ได้มีแค่เรื่องของ Social Media อย่างเดียว ยังมีการทำ SEO, SEM, Influencer Marketing, การใช้เครื่องมือ MarTech ไปจนถึงการร่วมมือกับ Native Ads ต่างๆ เพื่อเติมเต็มทั้ง Customer Journey ที่เรียกว่าการ "ทำน้อยแต่ได้มาก" ถ้าบริษัทเอา 80% ไปโฟกัสกับแค่ Social Media แล้วหลงลืมสิ่งเหล่านี้ก็ยากที่จะสำเร็จแบบยั่งยืน
ต้องคอยเสียค่าทำโฆษณาไปแบบไม่รู้จบ วันใดแพลตฟอร์มเหล่านี้เปลี่ยน Algorithm หรือปิดไปแล้วจะทำอย่างไร การสร้าง Customer Data ไว้ที่ตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คนมักมองข้ามไป
สุดท้ายแล้ว Digital ไม่ใช้แค่การใช้แพรตฟอร์มทั้งหมดบน Social Media ในโลกนี้ แต่ต้องเข้าใจพื้นฐานและการวางกลยุทธ์ และถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วแสดงว่าบทความของเราดึงดูดคุณ เราขอขอบคุณ และท้ายสุดสำหรับใครที่อ่านบทความนี้แล้วสนใจอยากเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Digital Marketing Management ดูเพิ่มได้ที่ https://www.neoacademy.pro/digital-marketing-management
Comments