โดยเนื้อหาหลักนั้นจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน โดยแบ่งตามความสนใจของผู้ใช้งานที่เปิดเผยทั้งการใช้ชีวิต ทัศนคติ พฤติกรรมการจับจ่าย และความสำคัญของอินเทอร์เน็ตกับคนไทย นำเสนอโดย ณัฐวีร์ มาวิจักขณ์ Managing Partner – Marketing & Development, GroupM Thailand และ แพน จรุงธนาภิบาล Director – Marketing & Development, GroupM Thailand
การตลาดยุคนี้ต้องเข้าใจเทรนด์ แต่อย่าตามเทรนด์ที่ไม่ใช่ตัวตนของเรา
เริ่มจากการยกให้ปี 2023 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหลักจากการหยุดชะงักเพราะ COVID-19 ซึ่งแนวโน้มในปีนี้จะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น ประกอบกับการที่ผู้บริโภคเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีจากการเลือกตั้งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เทรนด์ 3 Consumers (3H)
Health เรื่องสุขภาพ ไม่ได้เรื่องกายภาพอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องจิตใจด้วย
Happiness คนตามหาความสุข และต้องการแบบปัจจุบัน Happiness Now
Hope หลังโควิด คนหาความรู้มากขึ้น อยากสวย รวยเร็วขึ้น และเชื่อว่าเป็นไปได้
ในด้านสุขภาพ
ผู้บริโภคปัจจุบันมีความกังวลด้าน PM2.5 ที่อาจจะกระทบต่อสุขภาพและความเชื่อมั่นในการเข้ามาเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า COVID-19 ที่เริ่มมองว่าไม่อันตรายแล้ว
ในด้านการทำงาน
ผู้บริโภคเริ่มหันกลับมาทำงานประจำเป็นหลักหรือหางานใหม่ และจะทำงานเสริมเมื่อมีโอกาส มากกว่าปีก่อนๆ ที่อาจจะเน้นอาชีพเสริมเป็นหลักเพราะ Covid-19
ด้านเศรฐกิจ
ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ เพราะอาจจะไม่ต้องเก็บเงินเพื่อรักษาสุขภาพเหมือนในช่วง COVID-19 และเก็บกดจากการไม่ได้ใช้จ่ายมาหลายปี จึงทำให้ได้เห็นการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากช่วงก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่อยากได้ ออกไปเที่ยวและใช้ชีวิตนอกบ้าน อัปเดตผ่านโลกโซเชียลอยู่เสมอ มีการใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น เพราะเป็นการได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวและผ่อนคลาย ได้เห็นสินค้าจริง จึงส่งผลให้การช็อปปิ้งออนไลน์มีแนวโน้มที่จะลดลงโดยจะใช้จ่ายในช่วงที่มีการลดราคาหรือเจอของที่ถูกใจ จริงๆ เท่านั้น อีกทั้งในด้าน Food Delivery ก็ลดลงตามไปอีกด้วยเนื่องจากผู้บริโภคมองว่าบริการค่าส่งและราคาอาหารที่บวกเพิ่มนั้นแพง เทียบกับการกินที่ร้านและได้บรรยากาศไม่ได้
ด้านเทคโนโลยี
ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จากทุกที่มากขึ้นผ่านระบบเครือข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุม ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็มีแพลตฟอร์มเกิดใหม่มากมายที่ให้ผู้บริโภคได้เลือกได้อย่างหลากหลาย
ภาพรวมโฆษณาของไทย
สื่อดิจิทัลยังคงเติบโตตลอด 10 ปี โตขึ้น 10 เท่า ตอนนี้มูลค่าของโฆษณาดิจิทัลปัจจุบันขยับมาอยู่ที่ 25,000 ล้านบาทแล้ว
Facebook ยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กวาดเม็ดเงินไป 9,230 ล้านบาท
ถ้ามองไปที่แอปพลิเคชัน ต่างๆ ที่ผู้บริโภคนิยมใช้บริการ จากข้อมูล Consumers Untold ในปีนี้พบว่า
ด้านข่าวสาร (News)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | Tiktok | IG |
2 | IG | |
3 | TikTok | |
4 | TV | TV |
5 |
ด้านการสื่อสาร (Communication)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | LINE | LINE |
2 | Messenger | Messenger |
3 | IG | IG |
4 | Telegram |
ด้านบันเทิง (Entertainment)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | TikTok | TikTok |
2 | YouTube | YouTube |
3 | Netflix | Netflix |
4 | Pirate Apps | Viu |
5 | | Pirate Apps |
ด้านการเงิน (Finance)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | Krungthai | Paotang |
2 | SCB | Krungthai |
3 | KBank | SCB |
4 | True Wallet | KBank |
5 | MyMo | |
ด้านช็อปปิ้ง (Shopping)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | Shopee | Shopee |
2 | Lazada | Lazada |
3 | IG | |
4 | IG | |
5 | TikTok | |
ด้านเดลิเวอรี่ (Delivery)
อันดับที่ | ปี 2023 | ปี 2022 |
1 | Grab | Grab |
2 | LINEMAN | LINEMAN |
3 | 7-Eleven | 7-Eleven |
4 | Robinhood |
สิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์นำ Insight ไปปรับใช้ได้
เมื่อพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
Be Human อย่าถูกปิดตาด้วย Data หรือเทคโนโลยี แต่ต้องใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย แม้จะมีเครื่องมือการตลาดอย่างดาต้าและ AI ที่เข้ามาช่วยนำทางให้กับนักการตลาดให้เรียนรู้ รู้จักผู้บริโภคเพื่อสื่อสารถึงผู้บริโภคอย่างตรงจุดก็ตาม
Smart Strategy Wins การวางกลยุทธ์การตลาดไปตามความสนใจของผู้บริโภค ไม่ใช่แบ่งตาม เพศ อายุ โลเคชั่น ฯลฯ อีกต่อไป ที่สำคัญต้องทำคู่ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ (Omnichannel)
Media & Content Come Together การส่งเมสเสจที่ถูกที่ถูกเวลา โดยที่ไม่สร้างความรู้สึกเชิงลบให้แบรนด์ ต้องเข้าใจการเลือกใช้สื่อควบคู่ไปกับการเลือกใช้คอนเทนต์
Branding is key การสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้แบรนด์เติบโตในระยะยาว ผู้คนจำแบรนด์ได้น้อยลง ดังนั้น จะต้องทำอย่างไรให้การตลาดและโฆษณาดีขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ว่าแบรนด์ไม่ได้หายไปจากตลาด
Comments