ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ บ้านเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิต บ้านเป็นที่ปลอดภัย ให้ความสบายใจ และเป็นที่อยู่อาศัย แต่หากเรามีอายุยืนขึ้น บ้านแบบไหนที่จะทำให้เรามีความสุขในบ้านได้?
5 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อทำการออกแบบบ้านสำหรับสังคมอายุยืน 1. ปลอดภัย (Safety) เมื่ออายุมากขึ้น การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่เหมือนเดิม โอกาสในการล้มเกิดขึ้นได้ง่าย บ้านที่ดีควรลดความเสี่ยงในการล้มตามจุดสำคัญในบ้านได้ พร้อมออกแบบเพื่อรองรับการกระแทกหากล้มในบ้าน และบ้านควรมีจุดที่สามารถแจ้งผู้อื่นเพื่อขอความช่วยเหลือได้ เช่น อุปกรณ์แจ้งเตือนการล้ม เป็นต้น
2. เข้าถึงง่าย (Accessibilities) บ้านที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ต้องเป็นบ้านที่เอื้อให้ใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เข้าถึงพื้นที่และสิ่งของที่ต้องการได้ ไม่มีควรมีการจัดวางของในชั้นที่สูงมากเกินไป และอาจเริ่มพิจารณาในการเพิ่มราวจับในจุดเสี่ยง เพื่อให้ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง 3. การใช้งานง่าย (Ease of Use) สิ่งที่สำคัญไปมากกว่าความสวยงาม คือ การใช้งานง่าย อุปกรณ์ในบ้านไม่ควรมีขั้นตอนซับซ้อน ลูกบิดประตูควรเป็นแบบแกนผลักเพื่อให้เกิดง่ายขึ้น ก๊อกน้ำควรเป็นแบบก้านโยกมากกว่าแบบหมุน อุปกรณ์ในบ้านต้องสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องออกแรงมาก
4. ความสะอาด (Clean & Clear) เป็นบ้านที่ทำความสะอาดง่าย มีอากาศที่ถ่ายเท และมีแสงธรรมชาติเข้าถึงอย่างเหมาะสม
5. การสร้างแรงกระตุ้น (Stimulation) เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น เวลาที่ใช้อยู่ในบ้านจะมีมากขึ้น และทำให้ไม่ได้ออกไปข้างนอกและสัมผัสกับธรรมชาติ บ้านที่ดีจึงต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพื้นที่สำหรับกิจกรรม และมีพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน
ความหมายของคำว่าบ้าน อาจมีมากกว่าการเป็นที่อยู่อาศัย
บ้านได้บันทึกความทรงจำในแต่ละช่วงชีวิต
การเตรียมบ้านสำหรับสังคมอายุยืน จึงไม่ได้เป็นการเตรียมเพื่อปัจจุบัน
แต่เป็นการเตรียมเพื่ออนาคต และเริ่มตั้งคำถามกับตนเองว่า คุณอยากใช้ชีวิตในบ้านแบบไหน เมื่ออายุยืนถึง 100 ปี แหล่งอ้างอิง: Smart House, Smart Living for aging society 5.0 โดย SCG Building & Living Care Consulting #NEOBYCMMU #LongevityEconomy #LongevitySociety
Comments