ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะในปี ค.ศ.2022 ที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้สามารถสังเกตเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
เรื่องของการจับจ่ายซื้อของและบริการต่างๆ ผ่านโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า E-COMMERCE (การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จากที่ปกติต้องออกไปซื้อของกินหรือของใช้จากห้างสรรพสินค้า ตามร้านค้าต่างๆ หรือต้องออกไปทานอาหารนอกบ้าน
แต่ในตอนนี้เชื่อว่าหลายท่านเปลี่ยนการจับจ่ายซื้อของจากการไปที่ร้านค้าสู่การซื้อแบบออนไลน์ ทั้งในแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆก็ตาม และหลายๆท่านคงใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ แล้วจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ถึงมือท่านมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แน่นอนว่าในปี ค.ศ.2022 นี้ เทรนด์ของการค้าขายออนไลน์ก็ยังคงได้รับความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน
จากรายงานของ Digital 2022 Global Overview Report โดยเว็บไซต์ We Are Social และ Hootsuite ได้มีการรายงานเทรนด์ที่น่าสนใจบางข้อที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ได้แก่
ประชากรโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงอายุ 16-64 ปีนั้น มีการซื้อสินค้าหรือบริการทางออนไลน์กว่า 58.4% และกว่า 28.3% เคยซื้อสินค้าที่เป็นของกินของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งสัปดาห์ประชากรโลกซื้อของออนไลน์เฉลี่ยถึง 58.4% ซึ่งถือว่าเยอะมาก และที่น่าสนใจคือประเทศที่มีการซื้อของออนไลน์รายสัปดาห์มากที่สุดนั่นก็คือประเทศไทยที่ 68.3%
แน่นอนว่าในเมื่อมีความต้องการของผู้บริโภคและความยิ่งใหญ่ของช่องทางตลาดที่มี ทำให้โอกาสที่จะสร้างธุรกิจออนไลน์ยังคงเปิดกว้างอยู่ ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมไปถึงในระดับโลก แต่จะมีช่องทางไหนบ้างที่จะสามารถนำสินค้าไปขายในตลาดออนไลน์ที่คนทั่วมุมโลกสามารถเข้าถึงและจับจ่ายได้?
NEO Academy ของเรา มีช่องทางที่จะทำให้ท่านสามารถนำสินค้าออกไปขายได้ทุกมุมโลกมาฝากกัน
Global E-Marketplace คืออะไร?
ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า Global E-Marketplace ให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักกันก่อน แน่นอนว่าหลายท่านคงรู้จักและคุ้นชินกับ E-Marketplace ที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทยทั้ง Shopee, LAZADA หรือ JD Central เป็นต้น
ผู้ให้บริการเหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ทุกท่านนำสินค้ามาฝากวางขายที่พื้นที่หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเป็นสื่อกลาง ที่มีระบบจัดการสินค้าสำหรับผู้ขาย และระบบเกื้อหนุนความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ มีการจัดหมวดหมู่ และสามารถซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบการชำระเงินและจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ยังมีการทำการตลาด หรือกระบวนการวางแผนในด้านธุรกิจ ส่งเสริมผู้ขายหรือเจ้าของธุรกิจ เรียกได้ว่าครบวงจรเลยทีเดียว
ซึ่งในระดับสากลก็มี E-Marketplace เช่นกัน เรียกว่า Global E-Marketplace นั่นเอง แน่นอนว่าระบบการให้บริการนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่พิเศษนั่นก็คือ ไร้พรมแดนในการขายและการซื้อ อธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายก็คือ ไม่ว่าจะท่านจะอยู่ที่ไหนของโลก ท่านก็สามารถซื้อและขายสินค้าที่ท่านต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ขายหรือลูกค้าได้โดยตรง สามารถส่งของข้ามประเทศ ข้ามทวีปอย่างง่ายดาย
NEO Academy ขอพาไปรู้จักกับ 3 ผู้ให้บริการ Global E-Marketplace ที่น่าสนใจในยุคนี้
1) Amazon.com
น้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินชื่อของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ผู้ให้บริการ Global E-Marketplace รายใหญ่ของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1994 Jeff Bezos ได้เริ่มเปิดร้านหนังสือออนไลน์ในยุคบุกเบิกของอินเทอร์เน็ต ใช้ชื่อว่า Cadabra.com เพราะเจ้าตัวได้มองเห็นเส้นทางและอนาคตที่สดใสของธุรกิจขายหนังสือออนไลน์ นอกจากนี้เขายังเชื่อมั่นว่าจะทำยอดขายได้ดีกว่าร้านหนังสือทั่วๆไป
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Amazon.com ตามชื่อของแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้พัฒนาจนกลายมาเป็นบริษัท E-COMMERCE ที่ใหญ่ที่สุด
จุดที่น่าสนใจของ Amazon ได้แก่
เป็นผู้ให้บริการ Global E-Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีการจัดการสินค้าคงคลัง (inventory), โกดัง (warehouse), ศูนย์กระจายสินค้า (distribution center) และระบบขนส่ง (logistic) ของตัวเอง
Amazon มีระบบการสมัครสมาชิกเรียกว่า Amazon Prime โดยสมาชิกจะจ่ายค่าสมาชิกรายปี เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับสินค้าภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าบางรายการ
เป็นเจ้าแห่งนวัตกรรม เช่น ในตอนนี้ได้มีการร่วมมือกันกับ metaverse เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ที่กำลังดังอยู่ขณะนี้ เพื่อหลอมรวมโลกเสมือนจริงกับการขายของแบบออนไลน์ให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน ลองจินตนาการว่าตัวท่านได้ลองหยิบจับสินค้า ได้เห็นหน้าผู้ซื้อหรือผู้ขายเหมือนเช่นที่ท่านไปที่ร้านค้า แต่ตัวท่านยังนั่งอยู่ที่บ้านเหมือนซื้อของออนไลน์ปกติ ถ้าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ คงน่าสนใจไม่น้อย
2) eBay.com
eBay.com เป็นเว็บไซต์ E-Marketplace ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของอเมริกา ที่มีจุดเด่นนอกจากการซื้อขายกันได้แบบปกติ ก็สามารถประมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้อีกด้วย
eBay ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 โดย Pierre Omidyar นักธุรกิจและนักสังคมสงเคราะห์วัย 28 ปี ด้วยการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งขับเคลื่อนโดยชุมชนธุรกิจออนไลน์ ใช้ชื่อว่า AuctionWeb.com แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็น eBay.com ในปี พ.ศ.2540
จุดที่น่าสนใจของ eBay.com ได้แก่
มีระบบ Auction(ประมูล) และ Buy it now(ซื้อเลย) ซึ่งระบบประมูลนั้นถือเป็นจุดเด่นที่สุดของ eBay ในปัจจุบันแทบจะหาเว็บไซต์ที่รองรับการประมูลใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้เลย
เปิดร้านค้าขายของได้ง่าย แทบจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขายของ
สามารถให้ผู้ซื้อมาเปิดเสนอซื้อสินค้าได้ หากไม่เจอสินค้าที่ลงประกาศขายอยู่แล้วในเว็บไซต์
มีระบบ Feedback เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จึงทำให้ผู้ขายมั่นใจได้ว่าจะได้เงินแน่นอน และผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตรงตามที่ต้องการ สามารถให้คะแนนกับผู้ขายได้
3) Alibaba
Alibaba ผู้ให้บริการ E-COMMERCE สัญชาติจีนที่มาแรงแซงทางโค้ง ถูกเรียกว่าเป็น Amazon ในเวอร์ชั่นของประเทศจีน ไม่ใช่แค่เพราะว่าทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่ Alibaba สามารถทำกำไรได้มากกว่า Amazon แม้ว่าจะมีรายได้ที่น้อยกว่า
Jack Ma นักธุรกิจชาวจีน ได้ก่อตั้ง Alibaba ขึ้นในปี ค.ศ.1998 ด้วยการที่เขาได้มีโอกาสไปเยือนอเมริกาในช่วงยุคที่อินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ตัว Jack Ma เล็งเห็นถึงช่องทางในการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้
Alibaba ประกอบไปด้วยธุรกิจหลักสามส่วนหลักๆ ได้แก่ Alibaba.com, TaoBao และ Tmall
Alibaba.com เป็นเว็บไซต์แรกในปี พ.ศ.2542 โดยเน้นขายสินค้าแบบ B2B หรือ ธุรกิจถึงธุรกิจ เน้นขายสินค้าในปริมาณมาก
Taobao ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2546 เพื่อขายสินค้าในรูปแบบ B2C หรือ ธุรกิจถึงผู้บริโภคโดยตรง และ C2C หรือ ผู้บริโภคถึงผู้บริโภคโดยตรง คล้ายกับ eBay
Tmall ที่เปิดตัวในปี พ.ศ.2551 โดยจะจำหน่ายสินค้าที่เป็นแบรนด์ต่างประเทศ และให้นักธุรกิจรายย่อยเปิดร้านค้าออนไลน์ แบบเดียวกับ Shopee หรือ LAZADA ในประเทศไทย
จุดที่น่าสนใจของ Alibaba ได้แก่
ความหลากหลายของแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะทำธุรกิจให้เหมาะกับธุรกิจและสินค้าของตนเอง
Alibaba เน้นสร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ (ecosystem) เพื่อสนับสนุนการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้สามารถเชื่อมโยงกันในทุกๆแพลตฟอร์ม
มี Alipay ที่เป็นบริการชำระเงินดิจิทัลของตัวเอง ที่รองรับบริการด้านการเงิน เช่น การชำระ การบริหารสินทรัพย์ และประกัน เป็นต้น
มีการแชร์ข้อมูลให้แก่แบรนด์หรือผู้ชาย เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาสินค้าหรือพัฒนาการทำการตลาด
Global E-Marketplace เหล่านี้ จะช่วยให้ทุกท่านเปิดช่องทางการค้าขายไปสู่ทั่วโลกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยความมั่นคง และระบบแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ รองรับสนับสนุนทั้งตัวของเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อ
แต่เรื่องของ Global E-Marketplace ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เนื้อหาเชิงลึกถึงข้อดี ข้อสังเกตของแต่ละช่องทาง รวมไปถึงเทคนิคต่างๆ ในการใช้งานเว็บไซต์เหล่านี้ ท่านสามารถเรียนได้จากหลักสูตรโดย NEO Academy ของเรา
Mini MBA Plus: E-Commerce Management หรือ หลักสูตรการบริหารธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
“หาสินค้าที่เหมาะ เจาะตลาดที่ใช่ พาธุรกิจออนไลน์ไปไกลทั่วทุกมุมโลก”
รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.neobycmmu.com/mini-mba-plus-ecommerce-management
--------
https://assets.ctfassets.net/sxag7u4cz1re/1jRTImbdbpp3oc2DfsAXJs/264d319277750ddc3aaa33ebdfa999cf/2022-eCommerce-trends-eBook-4.pdf, https://www.youtube.com/watch?v=nNgPXUsOF1o, https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-ecommerce-thai-2022-digital-stat-we-are-social/
Comments