top of page
Writer's pictureNEO ACADEMY

สื่อสารแบรนด์อย่างสร้างสรรค์ด้วย Digital Channels ที่ใช่

Updated: Jun 19, 2023



การสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยการเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสาร ปัจจุบันมีสารพัดช่องทางให้เลือกใช้ แต่สิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจลงมือสื่อสาร หรือเลือกช่องทางใด ต้องกลับไปทบทวนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายในการสื่อสารให้ชัดเจนเสียก่อน

บางแคมเปญอาจไม่จำเป็นต้องสื่อสารทุกช่องทางเพื่อกวาดต้อนผู้ชม ผู้ฟังเข้ามาให้มากที่สุด แต่เพียงต้องการกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดียวอย่างเหนียวแน่น ซึ่งแต่ละช่องทางล้วนมีลักษณะเด่นแตกต่างกันไป จะเลือกให้ถูกต้องเข้าใจแต่ละช่องทางให้ดีเสียก่อน



1. เว็บไซต์

ช่องทางการสื่อสารแบรนด์แบบที่ไม่เคยล้าสมัย เปรียบเสมือนบ้านที่เรามีสิทธิตัดสินใจตกแต่ง เพิ่มฟังชันได้อย่างเต็มที่หากมีโครงสร้างที่ดีและตรงตามหลักการใช้งาน มีการทํา Information Architecture เพื่อจัดโครงสร้างข้อมูลให้ใช้งานง่าย ออกแบบ User Interface (UI) ที่เหมาะสม และออกแบบ User Experience (UX) ที่ทําให้ผู้ใช้งานรู้สึกพึงพอใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ใช้เวลาดาวน์โหลดหน้าเว็บนานเกินไป เพราะเว็บที่โหลดช้า มักจะมี Bounce Rate สูง เพราะคนผละออกไปก่อนที่จะซื้อสินค้า หรือรับทราบข้อมูลที่ต้องการบอกนั่นเอง




2. อีเมล

ช่องทางการสื่อสารแบรนด์ที่กระตุ้นความเชื่อมั่น น่าเชื่อถือ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง สามารถเลือกจัดแบ่งกลุ่มที่เหมาะกับเนื้อหา โปรโมชันที่แตกต่างกันได้ จึงทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างละเอียด ตรงจุด รวมทั้งยังสามารถกระตุ้นการขายได้จริง ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า triggered emails ซึ่งส่งมากระตุ้นเตือนให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่กดเลือกใส่ตะกร้าไว้แต่ยังไม่จ่ายเงิน





3. Search Engine Optimization (SEO) “คำค้นหา” เป็นจุดเริ่มต้นของการจับจ่ายใช้สอย เป็นประตูสู่การรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ที่ทำให้ผู้ที่สนใจบางสิ่งสามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ การทำ SEO จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รับรู้มากขึ้นได้ในวงกว้าง ซึ่งสัมพันธ์กับการทำ Content Marketing ทั้งในเว็บไซต์ของแบรนด์เองและในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อให้คำค้นหานำมาสู่เนื้อหาของแบรนด์ในที่สุด

การทำ SEO จำเป็นต้องให้ความสนใจแก่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาอย่างละเอียด ทบทวนพฤติกรรมของผู้บริโภคอยู่เสมอ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ตรงใจในเวลาที่พวกเขากำลังมองหา เพราะจะส่งผลให้แบรนด์ได้รับความไว้วางใจ เกิดความรู้สึกที่ได้โดยไม่ต้องลงทุนเยอะ


Google Trends เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อวางแผน SEO โดยวิเคราะห์จากคำที่ค้นเสริช์ใน Google ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการของธุรกิจ




4. สื่อสังคมออนไลน์

สิ่งสำคัญของการสื่อสารแบรนด์ท่ามกลางโลกแห่งโซเชียลมีเดียที่อื้ออึงนั้นคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อเแบรนด์ ชื่อผู้ใช้ ภาพโปรไฟล์ ภาพคัฟเวอร์ สี ตัวอักษร งานออกแบบกราฟิก ภาพประกอบ และน้ำเสียงของแบรนด์


  • Facebook Page เน้นการสร้าง Awareness บอกเล่า Brand Story เพื่อนําเสนอความเป็นมา นอกจากภาพแล้วยังควรใช้วิดีโอสั้น ๆ หรือ Live ร่วมด้วย

  • Instagram Business สื่อสารด้วยภาพ หรือวิดีโอสั้น เพื่อถ่ายทอดความเป็นแบรนด์ด้วยสัญลักษณ์ สีสัน บรรยากาศ ทำให้ผู้รับชมซึมซับอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างไม่รู้สึกถูกยัดเยียด

  • YouTube Channel เน้นการเล่าเรื่องที่ต้องการคำอธิบายละเอียดซับซ้อน วิดีโอสามารถสร้างอารมณ์ ความรู้สึกได้ง่าย รวมถึงการใช้ฟังก์ชัน Live ที่ให้ความรู้สึกว่ากำลังรับชมเนื้อหานั้นก่อนใคร

  • LINE Official เน้นการแจ้งข่าวและสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นแบรนด์ มีฟังก์ชันกรสะสมแต้ม หรือเล่นเกมแจกรางวัลได้หลายรูปแบบ

  • Twitter เน้นการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิด Brand Love ด้วยบทสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ

  • TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่เต็มไปด้วยลูกเล่นสนุก ๆ และสารพัดเนื้อหาความรู้และมอบรอยยิ้ม แบรนด์สามารถใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง หรือสร้าง Challenge สนุก ๆ ให้คนเข้าร่วมได้ผ่านแฮชแท็ก หรือ Interactive Filter

  • Clubhouse แพลตฟอร์มใช้เสียงแลกเปลี่ยนบทสนทนาอันหลากหลาย เป็นอีกหนึ่งช่องทางใหม่ที่น่าทดลองความเป็นไปได้ในการถ่ายทอดความเป็นแบรนด์ อาจจะผ่านชื่อห้องที่ให้ความรู้ ชวนถกเถียงประเด็นเด่น และอื่น ๆ อีกมากมาย


5. สื่อผสมสื่อผสาน

เพราะทุกวันนี้เราหนึ่งคนไม่ได้ใช้เพียงแพลตฟอร์มเดียวอีกต่อไป โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยอายุระหว่าง 16-64 ปี มีบัญชีโซเชียลมีเดียมากถึง 10 บัญชีในหลากหลายแพลตฟอร์ม การผสานช่องทางที่หลากหลายเข้าด้วยกัน จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของการสื่อสารแบรนด์ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำและอยู่ในใจกลุ่มเป้าหมายได้ตลอด



แหล่งอ้างอิง: https://www.leadboxer.com/blog/paid-owned-and-earned-media/

จากแผนภาพข้างต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ผสมผสานกันของสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อที่อยู่ในมือของแบรนด์ (Owned Media) แบรนด์เป็นผู้บริหารจัดการ ควบคุมได้ด้วยตัวเองทั้งหมด สื่อที่ต้องจ่ายเงิน (Paid Media) เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ให้คนรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการบอก ช่วยทำให้สื่อสารออกไปในวงกว้างขึ้น กระจายไปหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่นอกเหนือไปจากผู้ติดตามใน Owned Media และสุดท้าย สื่อที่ได้มาฟรีจากการเป็นที่พูดถึง (Earned Media) ซึ่งเกิดจากแคมเปญ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกิจกรรมที่น่าสนใจ จนทำให้สื่ออื่น ๆ อดไม่ได้ที่จะนำไปเล่าต่อโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

การเลือกใช้ช่องทางดิจิทัลช่วยสื่อสารแบรนด์เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกได้ง่าย สร้างอิมแพ็กได้มากด้วยต้นทุนต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงใจ ตรงไปตรงมา และความสม่ำเสมอที่มีต่อลูกค้าก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นโลกออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม


สื่อสารแบรนด์ให้ตรงเป้า เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งไปกับกับองค์ความรู้เข้มข้นที่หลักสูตร Mini MBA - Digital Branding Management หลักสูตรการบริหารแบรนด์ดิจิทัล รุ่น 2 อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ หลักสูตร Mini MBA-Branding&Communication Management เรียนบริหารแบรนด์ กลยุทธการสร้างแบรนด์ (neoacademy.pro)


อ้างอิง

https://staunstrup.se/en/strategy/converged-media-owned-paid-earned-media-can-work-together/

https://www.smartinsights.com/online-brand-strategy/multichannel-strategies/structure-effective-multichannel-marketing-plan/


357 views0 comments

Comentarios


bottom of page