B
B2B e-Commerce
คำนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ B2B ย่อมาจาก Business-to-Business หมายถึงการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจกับเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือบริการ อีกคำก็คือ e-Commerce ซึ่งหมายถึง การชื้อขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจ การประกอบเข้าด้วยกันของ 2 คำนี้จึงหมายถึง การซื้อขายระหว่างเจ้าของกิจการด้วยกันผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรูปแบบการติดต่อซื้อขาย และพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากการซื้อขายกับบุคคลทั่วไป โดยธุรกิจสามารถเลือกวางระบบดังกล่าวในเว็บไซต์ของตนเอง หรือผ่านแพลตฟอร์มกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ได้ตามความเหมาะสม
B2C e-Commerce
คำนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ B2C ย่อมาจาก Business-to-Customer กับคำว่า e-Commerce จึงหมายถึง การซื้อขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้บริโภค ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วกับร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้า บริการต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียซึ่งแต่ละร้านจะมีเงื่อนไข กระบวนการสั่งซื้อ จ่ายเงิน จัดส่งแตกต่างกันไป ส่วนร้านค้าออนไลน์ประเภทนี้ที่อยู่บนแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ จะใช้ระบบเดียวกันทั้งแพลตฟอร์ม
B2D Marketing
คำนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ B2D ย่อมาจาก Business to Developer และคำว่า Marketing หมายถึง การตลาดที่เจาะกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์โดยตรง เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการทำงาน อาจเป็นได้ทั้งระบบการจ่ายเงิน เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือทดสอบโปรแกรม หรือบริการโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์
BIO
คือ คำอธิบายสั้น ๆ ในโปรไฟล์ที่บอกให้คนอื่นรู้ว่าคุณเป็นใคร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ดีในการแชร์ลิงก์ไปยังเว็บไซต์หรือบัญชีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใน Facebook (ลงได้มากสุด 160 ตัวอักษร), Instagram (ลงได้มากสุด 150 ตัวอักษร) และ Twitter (ลงได้มากสุด 160 ตัวอักษร) จะเรียกง่ายๆ ว่า BIO
ในขณะที่ LinkedIn จะเรียกว่า Summary
BLOCKCHAIN
เทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ที่ไม่มีตัวกลาง ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำลง ไม่ต้องรอให้นายธนาคารประทับตรายืนยันตัวตน หรือตรวจเอกสารโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ใช้รหัส Token ยืนยันตัวตนแทนการตรวจสอบด้วยบุคคล ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บเป็นสำเนาไว้กับทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เปรียบเหมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ยึดโยงกันไว้ แม้ต่างคนต่างไม่รู้จักกัน จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเข้าไปแก้ไข ดัดแปลงได้
ปัจจุบันนำมาใช้ในการซื้อขาย Bitcoin กันอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่ต้องการความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เช่น การนับคะแนนผลการเลือกตั้ง การบริจาคเงิน เป็นต้น
Balance Sheet
งบดุล (Balance Sheet)
เรียกอีกอย่างว่า งบแสดงฐานะการเงิน บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยหน้าแสดงผลงบดุลจะแบ่งออกไปเป็น ส่วนสินทรัพย์ และส่วนหนี้สินกับส่วนของเจ้าของ ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง หากตัวเลขออกมาไม่เท่ากัน แสดงว่ากิจการขาดสภาพคล่องกฎหมายกำหนดไว้ว่าใน 1 ปีจะต้องมีการจัดทำงบดุล 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้หน่วยงานรัฐประเมินและจัดเก็บภาษีได้
Benchmarking
การเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking)
กระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลผลิต การให้บริการและกระบวนการทำงานของกิจการต่างๆ เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้นต่อไป การเทียบเคียงแต่ละครั้งนอกจากจะกำหนดคู่เทียบว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เปรียบเทียบกับธุรกิจในตลาดเดียวกัน หรือธุรกิจในตลาดอื่นๆ และยังจำเป็นต้องกำหนดว่าจะเป็นการเปรียบเทียบเฉพาะผลการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือบริการ เปรียบเทียบด้านกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้สามารถคัดเลือกข้อมูลมาใช้พัฒนากิจการต่อไปได้อย่างไม่หลงทาง
Black Hat SEO
คือ การปฏิบัติที่ขัดต่อหลักเกณฑ์และนโยบาย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีที่จะลองและเพิ่มในกลยุทธ์ SEO
ในอดีต Black Hat SEO จำนวนมากถูกใช้เพื่อพยายามหลอกลวงเครื่องมือค้นหาให้จัดอันดับหน้าเพจให้สูงขึ้นโดยเลี่ยงกฎ แต่ปัจจุบันอัลกอริทึมของเสิร์ชเอ็นจิ้นได้พัฒนาไปจนถึงจุดที่รู้ทันและลงโทษการทำ Black Hat SEO
• keyword stuffing
• hiding text on a web page
• spam links
• cloaking
Brand Story
โดยคอนเทนต์ที่ดีต้องเป็นการบอกเล่าเรื่องราวและคุณค่าของแบรนด์ที่จะทําให้ลูกค้าอิน โดยสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ เช่น การวางกรอบการเล่าเรื่องอย่างเชื่อมโยง มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ อธิบายเหตุผลว่าทำไมแบรนด์จึงถูกสร้างขึ้นมา ไปจนถึงข้อคิดจากความล้มเหลวในอดีตที่ทำให้แบรนด์สามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้
Break Even
จุดคุ้มทุน (Break Even)
จำนวนของสินค้าหรือบริการที่ต้องผลิตและขายให้ได้ เพื่อให้รายได้ถึงจุดคุ้มทุน มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน นอกจากจะเป็นจุดที่บ่งบอกถึงกำไรและขาดทุนแล้ว ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลประเมินธุรกิจได้ด้วย ว่าจะต้องผลิตเท่าไร หรือขายให้ได้เท่าไรเพื่อไปให้ถึงจุดคุ้มทุน แต่นอกเหนือจากการขายแล้ว ต้องไม่ลืมว่ายังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายแปรผัน ราคาขาย และจำนวนยอดขาย ซึ่งส่งผลต่อจุดคุ้มทุนด้วยเช่นกัน